top of page

จะดูแลหลังขับรถลุยน้ำท่วมอย่างไร



ในหลายพื้นที่ในประเทศไทยในช่วงนี้ก็ฝนตกหนักเลยทีเดียวเนื่องมาจากลมมรสุมจากประเทศเพื่อนบ้านที่ผ่านมาทักทายบ้างเป็นครั้งคราว และเป็นที่แน่นอนว่าในเมื่อมีฝนตกหนักเกิดขึ้นก็จะต้องมีการน้ำท่วมขังตามมา ทำให้เราจะต้องประสบพบเจอกับการขับรถลุยน้ำท่วมอย่างเลี่ยงไม่ได้เป็นเรื่องปกติ และถึงแม้ว่ารถของเราจะสามารถฝ่าน้ำท่วมขังออกมาโดยที่ไม่ดับไปกลางทางไปซะก่อนได้ แต่การขับฝ่าน้ำท่วมครั้งนี้ก็อาจจะสามารถส่งผลทำให้เกิดปัญหาตามมาได้อยู่ดี แล้วก็อาจจะทำให้มีเรื่องค่าใช้จ่ายบานปลายหรือเสียเวลาในซ่อมแซ่มตามหลังสร้างความหงุดหงิดใจได้ แต่ก็ยังมีวิธีที่เราจะป้องกันปัญหาเหล่านี้ได้ตั้งแต่เนิ่น ๆ ไว้ ด้วยการหมั่นตรวจเช็กจุดต่าง ๆ ของรถทุกครั้งหลังจากที่มีการขับรถลุยน้ำท่วมมา สำหรับในวันนี้ทาง P.I.E Premium Modern Truck ก็ได้รวบรวมมาแล้วว่าควรเช็กจุดไหนบ้างตามไปดูกันเลย


✓ ระบบอิเล็กทรอนิกส์และไฟฟ้า​

ส่วนสำคัญอย่างหนึ่งที่ต้องตรวจสอบ ความชื้นจากน้ำจะสร้างความเสียหายแก่ระบบอิเล็กทรอนิกส์และสายไฟต่าง ๆ หลังจากขับรถลุยน้ำท่วมควรจะเช็กระบบไฟด้วย อย่างกล่องฟิวส์ กล่องอีซียู ถ้าหากพบว่าเปียกน้ำก็ต้องเช็ดให้สะอาด และอย่าลืมเช็กว่ามีความเสียหายหรือไม่ และรวมถึงต้องตรวจสอบไฟต่าง ๆ ภายนอกรถด้วย ✓ การทำงานเครื่องยนต์​

สังเกตอาการของเครื่องยนต์ถึงการมีความผิดปกติของการทำงานหรือไม่ อย่างเช่น อาการกระตุก เร่งเครื่องไม่ขึ้น หรือมีเสียงเครื่องยนต์ดังกว่าปกติ ถ้าหากขับขี่รถเป็นประจำก็จะสามารถรับรู้ถึงความผิดปกติได้ไม่ยาก ✓สภาพห้องโดยสาร​

การลุยน้ำท่วมจะมีการขับขี่เคลื่อนตัวอย่างช้า ๆ แต่ก็มีทางที่น้ำจะซึมเข้ามาในห้องโดยสารผ่านส่วนที่เป็นซีล รวมถึงรอยต่อต่าง ๆ หรือน้ำท่วมสูงถึงบริเวณปากท่อไอเสีย จะสามารถทำให้น้ำไหลเข้าสู่ภายในห้องโดยสารได้ หลังจากขับรถลุยน้ำท่วมจะต้องตรวจสอบภายในห้องโดยสาร ด้วยการสังเกตง่าย ๆ อย่างพรมปูว่ามีน้ำแฉะหรือมีความเปียกชื้นบริเวณใดหรือไม่ ถ้าหากมีการพบบริเวณที่แฉะหรือเปียกให้นำไปตากแดด รวมถึงถ้าหากมีพบว่ามีน้ำขังอยู่ในภายในห้องโดยสารก็ให้ดูด ซับหรือเช็ดให้แห้ง และทำการระบายอากาศด้วยการเปิดประตูรถทั้งสี่ด้านเพื่อไล่ความชื้นจากห้อง


✓ระบบเบรก ​

การขับรถลุยน้ำท่วมมา อาจส่งผลทำให้ผ้าเบรกเปียกและเกิดสูญเสียการยึดเกาะได้ ดังนั้นหลังจากที่ลุยน้ำท่วมอย่าเพิ่งทำการเร่งเครื่องหรือออกตัวด้วยความเร็ว ถ้าหากเหยียบเบรกแรง ๆ ก็อาจจะทำให้รถลื่นหรือเสียหลักได้ สิ่งที่ควรทำก็คือการเหยียบเบรกย้ำ ๆ หลาย ๆ ครั้ง เป็นระยะทางประมาณ 100 เมตร หรือที่เรียกว่าการ “เลียเบรก” เพื่อไล่ความชื้นด้วยให้ผ้าเบรกกับจานเบรก หรือดรัมเบรกเกิดความร้อนจนน้ำและความชื้นมีการระเหยจนกลับมาอยู่ในสภาพปกติ ✓ 5 ลูกปืนล้อ ​

ลูกปืนล้อ ถ้าหากมีการแช่น้ำเป็นเวลานาน ๆ ก็อาจจะมีการเสื่อมคุณภาพหรือพังอย่างรวดเร็ว เนื่องมาจากจารบีที่คอยหล่อลื่นภายในลูกปืนอาจจะหายไปกับสายน้ำได้ จะสามารถสังเกตอาการผิดปกติว่ามีการเสียหายได้จากลูกปืนล้อที่ส่งเสียงดังขึ้นในเวลาที่รถมีการวิ่งด้วยความเร็วสูง สำหรับเป็นการขับรถวิ่งผ่านน้ำเฉย ๆ ด้วยความเร็วประมาณหนึ่งไม่ได้มีการแช่น้ำท่วมขังก็จะไม่ค่อยมีปัญหาอะไร แต่ก็อย่างไรก็ตามต้องหมั่นเช็กทุกครั้งหลังจากที่ลุยน้ำเสมอ ✓เพลาขับและเฟืองท้าย ​

เพลาขับและเฟืองท้าย เป็นอุปกรณ์ที่มีความเสี่ยงต่อการน้ำเข้าได้ถ้าหากว่ายางหุ้มเพลา มีการเสื่อมหรือฉีกขาด ทำให้มีโอกาสที่น้ำจะเข้าไปทำให้จาระบีที่อยู่ภายในหายไปกับน้ำได้ ในส่วนของเฟืองท้ายเองน้ำก็สามารถเล็ดลอดเข้าไปภายในของท่อหายใจน้ำมันเฟืองท้ายได้ ความผิดปกติสามารถสังเกตด้วยการฟังเสียงถ้าหากมีเสียงดังผิดปกติออกมา จะต้องแก้ไขด้วยการทาจารบีใหม่ และเปลี่ยนยางหุ้มเพลาใหม่ หรือเปลี่ยนถ่ายของเหลว


✓ระบบปรับอากาศ ​

หลังจากขับรถลุยน้ำท่วม อาจมีน้ำเข้ามาภายในรถโดยไม่รู้ตัว จนกลายเป็นความชื้นที่จะส่งกลิ่นเหม็นอับชื้นได้ ถึงแม้ว่ารถจะไม่ได้มีการจมน้ำก็ตาม ถ้าหากพบเจอกับปัญหานี้ก็สามารถแก้ไขด้วยการนำรถเข้าศูนย์เพื่อล้างทำความสะอาดและกำจัดกลิ่นระบบปรับอากาศ


✓น้ำมันเครื่อง ​

หลังจากขับรถลุยน้ำท่วมจะต้องตรวจน้ำมันเครื่อง ว่ามีน้ำผสมอยู่หรือไม่ ด้วยการดึงก้านวัดน้ำมันเครื่องออกมาดูเนื้อของตัวน้ำมัน ว่ายังมีความเป็นเนื้อเดียวกันอยู่หรือไม่มั้ย ถ้าหากเป็นเนื้อเดียวกันแสดงว่าไม่มีน้ำผสมอยู่ แต่ถ้าหากว่าน้ำมันเครื่องมีสีออกน้ำตาล ๆ หรือมีการแยกชั้นกันระหว่างน้ำกับน้ำมัน แสดงว่ามีน้ำได้เข้าไปผสมกับน้ำมันเครื่องแล้ว จะต้องรีบเปลี่ยนน้ำมันเครื่องพร้อมเปลี่ยนไส้กรองใหม่ทั้งหมดทันที


อ่านเพิ่มเติมได้ที่ ขับรถลุยน้ำท่วม

ติดตามข่าวสาร และ ข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับ รถบรรทุก

ได้ที่ : P.I.E. Premium Modern Truck ขายรถบรรทุก

ติดต่อสอบถามเพิ่มเติม : P.I.E Premium Modern Truck



Comments


Hi, thanks for stopping by!

I'm a paragraph. Click here to add your own text and edit me. I’m a great place for you to tell a story and let your users know a little more about you.

Let the posts
come to you.

Thanks for submitting!

  • Facebook
  • Instagram
  • Twitter
  • Pinterest
bottom of page