มาทำความรู้จักวัตถุอันตราย มีกี่ประเภท ?
สำหรับวันนี้ P.I.E Premium Modern Truck จะมาพาทุกคนไปทำความรู้จักกับ รถบรรทุกวัตถุอันตราย กันให้มากขึ้นการประสบพบเจอกับรถบรรทุกวัตถุอันตรายบนท้องถนนเกี่ยวข้องกับชีวิตประจำวันของเราอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ซึ่งก็แปลว่าไม่ใช่เรื่องไกลตัวเลยด้วย โดยเฉพาะเมื่อเวลาที่เราจะเดินทางข้ามไปจังหวัดอื่นด้วยเส้นทางหลวงต่าง ๆ ออกนอกจังหวัด ก็ทำให้เรามักจะต้องร่วมทางไปกับ รถบรรทุกวัตถุอันตราย หรือรถบรรทุกที่มีการติดตั้งถังบรรจุสารอันตรายขนาดใหญ่ไว้ด้านท้ายอยู่บ่อย ๆ อย่างแน่นอน
และในหลาย ๆ ครั้งเราเองก็มักจะได้เห็นการเกิดอุบัติเหตุบนท้องถนนที่เกิดจากรถบรรทุกวัตถุอันตรายต่าง ๆ จากในข่าว อย่างเช่น รถบรรทุกด้วยสารเคมี ก๊าช น้ำมัน รวมไปถึงวัตถุไวไฟประเภทต่าง ๆ ซึ่งสามารถก่อให้เกิดความเสียหายรุนแรงได้มากกว่าอุบัติเหตุจากประเภทอื่นด้วย และถ้าอย่างนั้นเราจะรู้ได้อย่างไรว่ารถบรรทุกวัตถุอันตรายที่ขับร่วมทางไปด้วยนั้น จะบรรทุกสารอันตรายหรือสารเคมีประเภทใดกันบ้าง เมื่อมีการเกิดอุบัติเหตุขึ้นมาเราควรจะทำอย่างไร และจะขับร่วมทางอย่างไรให้ปลอดภัย ถ้าหากเรามีความรู้ความเข้าใจในเรื่องเกี่ยวกับรถบรรทุกวัตถุอันตรายประเภทต่าง ๆ ก็จะทำให้สามารถเพิ่มความปลอดภัยในการใช้รถใช้ถนนร่วมเดินทางกับรถรถบรรทุกวัตถุอันตรายเหล่านี้ได้
รถบรรทุกวัตถุอันตรายที่ขับร่วมทางอยู่นั้น เราจะสามารถรู้ได้ว่าบรรทุกสารอันตรายประเภทใดอยู่ ด้วยการสังเกตป้ายที่จะติดอยู่ข้างแท็งค์ หรือด้านท้ายของรถบรรทุก 1.ป้ายสีส้มที่ไม่มีข้อความ
2.ป้ายสีส้มที่มีหมายเลขแสดงความเป็นอันตราย (Hazard indentification number หรือ kemler code) และหมายเลขสหประชาชาติของวัตถุอันตราย UN number หรือ United Nations Committee of Experts on the Transport ofDangerous Goods ที่มีไว้จำแนก ออกตามลักษณะที่ก่อให้เกิดอันตรายหรือความเสี่ยงในการเกิดอันตรายได้เป็น 9 ประเภทด้วยกัน
ประเภทที่ 1 สารและสิ่งของระเบิด ประเภทที่ 2 ก๊าซ ประเภทที่ 3 ของเหลวไวไฟ
ประเภทที่ 4 ของแข็งไวไฟ
4.1 ของแข็งไวไฟ (Flammable Solids)
4.2 สารที่มีความเสี่ยงต่อการลุกไหม้ได้เอง (Substances Liable to Spontaneous Combustion)
4.3 สารที่สัมผัสกับน้ำแล้วทำให้เกิดก๊าซไวไฟ (Substances which in Contact with Water Emit Flammable Gases)
ประเภทที่ 5 สารออกซิไดซ์และสารอินทรีย์เปอร์ออกไซด์
5.1 สารออกซิไดส์ (Oxidizing)
5.2 สารอินทรีย์เปอร์ออกไซด์ (Organic Peroxides)
ประเภทที่ 6 สารพิษและสารติดเชื้อ
6.1 สารพิษ (Toxic Substances)
6.2 สารติดเชื้อ (Infectious Substances
ประเภทที่ 7 วัสดุกัมมันตรังสี
ประเภทที่ 8 สารกัดกร่อน
ประเภทที่ 9 สารและสิ่งของอันตรายเบ็ดเตล็ด
อ่านเพิ่มเติมได้ที่ รถบรรทุกวัตถุอันตราย
ติดตามข่าวสาร และ ข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับ รถบรรทุก
ได้ที่ : P.I.E. Premium Modern Truck ขายรถบรรทุก
ติดต่อสอบถามเพิ่มเติม : P.I.E Premium Modern Truck
Comments