top of page
ค้นหา

รู้ไว้รอดทุกด่าน ! บรรทุกหลังรถกระบะให้ถูกต้อง

  • รูปภาพนักเขียน: Tulyada Phantupo
    Tulyada Phantupo
  • 18 ม.ค. 2565
  • ยาว 1 นาที

อัปเดตเมื่อ 9 ก.พ. 2565


นอกจากรถบรรทุกแล้วรถกระบะก็เป็นอีกหนึ่งตัวเลือกที่นำมาบรรทุกสิ่งของ อาจจะเป็นสิ่งของที่เป็นขนาดเล็กจำนวนไม่ได้เยอะมาก ก็สะดวกกว่าการจะใช้บริการขนย้ายให้เสียสตางค์กันไป แถมรถกระบะก็มีใช้กันอยู่หลายครัวเรือนด้วยแต่ถึงอย่างนั้นก็จำเป็นต้องบรรทุกให้ถูกต้อง วันนี้ PIE Premium Modern Truck ได้รวบรวมวิธีที่รู้ไว้รอดทุกด่านบรรทุกหลังรถกระบะให้ถูกต้องมาให้แล้ว

  1. คำนวณความกว้าง ยาว สูง ให้ดีก่อนบรรทุก

ด้วยความที่รถกระบะเป็นการบรรทุกที่ขนาดเล็กกว่ารถบรรทุกมาก ถ้าหากบรรทุกที่มากเกินไปนอกจากผิดกฎหมายแล้วยังเสี่ยงกับการเกิดอุบัติเหตุอีกด้วย

ความกว้าง - ต้องไม่เกินส่วนกว้างของตัวรถ

ความยาว - การยื่นสิ่งของไปข้างหน้าต้องไม่เกินหน้าหม้อรถ การยื่นไปด้านหลังต้องพ้นตัวรถได้ไม่เกิน 2.50 เมตร

ความสูง - ความสูงจากพื้นไม่เกิน 3.00 เมตร หรือสูงจากพื้นได้ไม่เกิน 3.80 เมตร ถ้าตัวรถนั้นมีความกว้างกว่า 2.30 เมตร

2. บรรทุกด้วยการเปิดท้ายกระบะ

เมื่อมีสิ่งของบรรทุกนั้นมันมีขนาดที่เกินจากตัวกระบะออกมา ก็ต้องเปิดท้ายกระบะเพิ่มเติม แต่เราต้องมีการติดธงสีแดงเรืองแสงไว้ ขนาดสี่เหลี่ยมพื้นผ้ากว้าง 30 เซนติเมตร ยาว 45 เซนติเมตรในตอนกลางวัน และติดไฟสัญญาณสีแดงในตอนกลางคืน เพื่อเตือนให้คันที่ขับขี่ตามหลังนั้นทราบว่ามีการเปิดกระบะท้าย

3. ต่อเติม ดัดแปลงกระบะจริง ๆ แล้วผิดต่อข้อกฎหมาย

ตามพระราชบัญญัติรถยนต์ พ.ศ. 2522 มาตรา 12 ประกอบมาตรา 60 มีโทษปรับสูงสุดไม่เกิน 2,000 บาท นั้น ได้ระบุไว้ว่าในการดัดแปลงตัวรถหรือส่วนใดส่วนนึงของตัวรถจากรายการที่จดทะเบียนนั้น เช่น การติดตะแกรงเหล็กเสริมรั้วกระบะข้าง, การติดโครงเหล็กตะแกรงบนหลังคา จะต้องมีการแจ้งเข้าตรวจสภาพและแจ้งแก้ไข ณ สำนักงานขนส่งที่จดทะเบียนไว้ เพื่อตรวจสอบว่ามีความแข็งแรงทนทานหรือไม่ และป้องกันการเกิดอันตราย

4. การดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์

ซึ่งเป็นเรื่องที่ควรทราบกันอยู่แล้วว่าทุกการขับขี่ไม่ควรดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ และสิ่งที่ทำให้มึนเมา ถ้าหากฝ่าฝืนย่อมผิดกฎหมาย ตามกฎหมายพ.ร.บ. สุรา พ.ศ. 2493 ในมาตรา 14 และตามมาตรา 15 ได้ระบุไว้ว่าผู้ใดทำการขนส่งสุราในราชอาณาจักรเกินกว่า 1 ลิตร แต่ไม่ถึง 10 ลิตร เข้าในหรือออกนอกเขตพื้นที่ต้องได้รับใบอนุญาตจากเจ้าพนักงานสรรพสามิต ศุลกากร และต้องพกใบอนุญาตติดรถไว้ด้วย สรุปแล้วก็คือไม่สามารถบรรทุกเหล้าเบียร์ขึ้นรถได้เกิน 10 ลิตร ถ้าหากจะขนสุราในปริมาณ 10 ลิตร หรือเกินกว่านั้นจะต้องมีใบอนุญาตนั่นเอง


 
 
 

Comments


Hi, thanks for stopping by!

I'm a paragraph. Click here to add your own text and edit me. I’m a great place for you to tell a story and let your users know a little more about you.

Let the posts
come to you.

Thanks for submitting!

  • Facebook
  • Instagram
  • Twitter
  • Pinterest
bottom of page