โครงสร้างราคาน้ำมัน / 1 ลิตร จะประกอบไปด้วยอะไรบ้างนะ ?
สำหรับวันนี้ทาง P.I.E Premium Modern Truck ก็ได้มาพร้อมกับบทความและสาระดี ๆ ที่จะมาพาทุกคนไปไขข้อสงสัยไปพร้อม ๆ กันว่า โครงสร้างราคาน้ำมัน ในประเทศไทย ในปัจจุบันทุกวันนี้ที่เราเติมกันอยู่ใน 1 ลิตร จะประกอบไปด้วยอะไรบ้าง อาจจะเป็นคำถามที่ใครหลายคนเริ่มมีข้อสงสัยมากขึ้น เนื่องมาจากหลังจากที่ราคาน้ำมันในตลาดโลกยังมีความผันผวนอย่างต่อเนื่อง รวมไปถึงราคาขายปลีกน้ำมันในประเทศมีการปรับขึ้น-ปรับลงอยู่บ่อยครั้ง มาตั้งแต่ช่วงหลังเทศกาลปีใหม่เป็นต้นมา
ก่อนอื่นเลยเราจะต้องมาทำความเข้าใจกันก่อนว่าในราคาน้ำมันขายปลีกตามหน้าปั๊มน้ำมันนั้น จะไม่ใช่ราคาจากหน้าโรงกลั่น แต่เป็นราคาที่ผ่านส่วนประกอบที่เกี่ยวข้องอยู่ด้วยกันถึง 4 อย่าง ได้แก่
โรงกลั่น ( 40 –60%) เป็นราคาเนื้อน้ำมันหน้าโรงกลั่น ที่ถูกขายจากหน้าโรงกลั่นที่อยู่ในประเทศไทย เป็นราคาที่คิดมาจาก ต้นทุนเนื้อน้ำมันดิบ บวกด้วยค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ของโรงกลั่นเข้าไป อย่างเช่น ค่าการกลั่น ต้นทุนค่าขนส่ง เป็นต้น ซึ่งจะเป็นส่วนที่ผู้ประกอบการโรงกลั่นจะได้รับเงินส่วนนี้ไป ซึ่งจะอ้างอิงราคาตามตลาดกลางภูมิภาคเอเชีย
ภาษีต่าง ๆ ( 30 –40%) เป็นส่วนที่รัฐบาลเรียกเก็บเพิ่มเติมมาจากราคาน้ำมัน เพื่อนำไปเป็นรายได้ในการพัฒนาประเทศ ซึ่งจะประกอบไปด้วย
- ภาษีสรรพสามิต
เพื่อนำไปเป็นรายได้ในการพัฒนาประเทศโดยจะถูกเรียกเก็บเป็นอัตราต่อลิตร ซึ่งขึ้นอยู่กับทางคณะกรรมการว่าจะมีการเรียกเก็บจำนวนต่อลิตรเป็นอัตราเท่าไหร่
- ภาษีมหาดไทย หรือภาษีเทศบาล
ภาษีมหาดไทย หรือที่เรียกกันว่าภาษีเทศบาล เป็นการเรียกเก็บเพื่อเป็นนำไปเงินอุดหนุน บำรุง และดูแลในพื้นที่ที่มีโรงกลั่นตั้งอยู่นั่นเอง
- ภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT)
เป็นการคิดเพิ่มมาจากราคาขายส่งและขายปลีก เช่นเดียวกับสินค้าอื่นในท้องตลาดทั่วไป ซึ่งในปัจจุบันเก็บอยู่ที่ 7%
เงินกองทุน (5 –20%)
สำหรับเงินกองทุนจะประกอบไปด้วย 2 ส่วน
- เงินเรียกเก็บหรืออุดหนุนจากกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง
เป็นเงินที่มีการเก็บเอาไว้เพื่อเป็นเงินสำรองเอาไว้ในยามที่ราคาน้ำมันมีความผันผวน หรือราคาน้ำมันในตลาดโลกสูงจนเกินไป ก็จะใช้เงินในส่วนนี้เพื่อเข้ามาพยุงราคาปลีกในประเทศไว้นั่นเอง โดยจะคณะกรรมการบริหารกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง (กบน.) คอยกำกับดูแล
- เงินที่เรียกเก็บเข้ากองทุนเพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน
โดยจัดเก็บตามประกาศคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ (กพช.)เพื่อใช้เป็นทุนหมุนเวียนและใช้จ่ายช่วยเหลือหรืออุดหนุนการดำเนินงานเกี่ยวกับการอนุรักษ์พลังงาน เพื่อส่งเสริมสนับสนุนพลังงานทางเลือก พลังงานทดแทน เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและลดการใช้พลังงาน
ค่าการตลาด (10 –18%)
ส่วนที่เป็นต้นทุน ค่าใช้จ่าย และกำไรของธุรกิจค้าปลีกน้ำมันทั้งระบบ โดยเริ่มตั้งแต่การจัดการคลังน้ำมัน การขนส่งน้ำมันมายังสถานีบริการ ไปจนถึงการให้บริการของสถานีบริการที่เติมน้ำมันแต่ละลิตรให้กับประชาชน
อ่านเพิ่มเติมได้ที่ โครงสร้างราคาน้ำมัน
ติดตามข่าวสาร และ ข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับ รถบรรทุก
ได้ที่ : P.I.E. Premium Modern Truck ขายรถบรรทุก
ติดต่อสอบถามเพิ่มเติม : P.I.E Premium Modern Truck
Comments