top of page

ไม่จ่ายเจอจับ ! ใบสั่งออนไลน์



ตั้งแต่เมื่อวันที่ 20 มิถุนายน 2565 เป็นต้นมา ทางสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ได้เริ่มมีการบังคับใช้ใบสั่งแบบใหม่ โดยประชาชนจะสามารถตรวจสอบใบสั่งออนไลน์ พร้อมกับยังสามารถจ่ายค่าปรับผ่านธนาคารได้ในทันที และดูประวัติการได้รับใบสั่งจราจรหรือใบสั่งย้อนหลังสำหรับใบสั่งที่ยังไม่หมดอายุความ 1 ปี ผ่านระบบ e-Ticket จากสำนักงานตำรวจแห่งชาติได้เลย

และล่าสุดจากทางกองบัญชาการตำรวจนครบาล (บชน.) ได้เริ่มบังคับใช้กฎหมายกับผู้ที่กระทำความผิดตามกฎหมายจราจร แล้วยังไม่มาชำระค่าปรับภายในระยะเวลาที่กำหนดอีกด้วย ทั้งนี้ก็เพื่อเป็นการส่งเสริมให้ผู้ขับขี่มีวินัยจราจรพร้อมกับลดปัญหาของการเกิดอุบัติเหตุ เนื่องมาจากว่าที่ผ่านมามักจะมีผู้ที่กระทำความผิดจำนวนมากที่ไม่มาชำระค่าปรับอยู่ และนอกจากนี้แล้วยังมีสถิติพฤติกรรมที่ฝ่าฝืนกฎหมายจราจรก็ยังมีให้พบเห็นอยู่อย่างต่อเนื่อง ซึ่งการกระทำเหล่านี้ก็เป็นเหตุให้เกิดอุบัติเหตุบนท้องถนนขึ้นอยู่เป็นประจำ โดยเริ่มมีผลบังคับใช้มาตั้งแต่วันที่ 20 มิถุนายน 2565 เป็นต้นมา


ขั้นตอนการปฏิบัติตามข้อบังคับใช้ดังกล่าว


1. เจ้าพนักงานจราจรออกใบสั่งแก่ผู้ที่กระทำความผิดตาม พ.ร.บ.จราจรทางบก พ.ศ.2522 มี 2 แบบ 1. ความผิดซึ่งหน้า 2. ความผิดที่ตรวจจับด้วยกล้องตรวจจับการกระทำความผิด

โดยระยะเวลาเป็นไปตามที่กฎหมายกำหนด โดยออกใบสั่งใน 3 รูปแบบ ได้แก่


– การเขียนใบสั่งเล่ม

– ใบสั่งจากภาพกล้องวงจรปิดส่งไปทางไปรษณีย์

– ใบสั่งจากเครื่อง E-TICKET


2. สำหรับในกรณีที่ผู้ที่กระทำความผิดไม่มาชำระค่าปรับในเวลาที่กำหนด และเมื่อพ้นระยะเวลาที่กำหนดไว้ในใบสั่งแต่ละประเภท เจ้าพนักงานจราจรจะทำการออกหนังสือเพื่อแจ้งการไม่ปฏิบัติตามใบสั่ง (ใบเตือน) และจัดส่งไปให้ผู้ที่กระทำความผิดทางไปรษณีย์ลงทะเบียนตอบรับภายใน 15 วัน ซึ่งจะนับแต่วันครบกำหนดชำระค่าปรับในใบสั่ง โดยให้ถือว่าเจ้าของ/ผู้ครอบครอง ได้รับแจ้งเมื่อพ้นกำหนด 15 วัน นับแต่วันส่ง และจะต้องชำระค่าปรับภายใน 15 วัน นับแต่วันที่ได้รับแจ้ง


3. สำหรับในกรณีได้ที่พ้นระยะเวลาการกำหนดไว้ในใบสั่งหรือใบเตือน แล้วผู้ที่กระทำความผิดด็ยังไม่มาชำระค่าปรับ (นอกจากการส่งข้อมูลไปยังกรมการขนส่งทางบกเพื่อดำเนินการตามมาตรการงดออกเครื่องหมายการเสียภาษีประจำปีแล้ว) ทางพนักงานสอบสวนก็จะทำการออกหมายเรียกผู้ต้องหาเพื่อให้มาชำระค่าปรับ และถ้าหากยังไม่มาพบตามหมายเรียกอีกทั้ง 2 ครั้ง พนักงานสอบสวนจะยื่นคำร้องขออนุมัติศาลในเขตพื้นที่เพื่อออกหมายจับต่อมา



4. สำหรับในกรณีที่ถูกออกหมายเรียกหรือหมายจับแล้ว ทางผู้ต้องหาจะถูกแจ้งข้อกล่าวหา โดยข้อหาจะเป็นข้อหาตามข้อหาที่ผู้ต้องหาได้กระทำผิดตามใบสั่ง และความผิดข้อหาตามมาตรา 155 “ผู้ใดไม่ปฏิบัติตาม ม.141 (ชำระค่าปรับในเวลาที่กำหนดในใบสั่ง) โดยไม่มีเหตุอันสมควร ต้องระวางโทษ ปรับไม่เกิน 1,000 บาท ซึ่งในขั้นตอนนี้ ทางผู้ต้องหาต้องเดินทางมาพบพนักงานสอบสวนด้วยตนเอง ณ สถานีตำรวจที่ออกหมายเรียก หมายจับ ไม่สามารถชำระผ่านช่องทางอื่นได้


5. เมื่อถูกออกหมายจับแล้ว ผลของการถูกออกหมายจับในคดีอาญา จะถูกบันทึกอยู่ในระบบฐานข้อมูลของสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ซึ่งทางเจ้าหน้าที่ตำรวจสามารถทำการจับกุมตัวบุคคลที่มีหมายจับได้ทั่วราชอาณาจักร โดยใช้เทคโนโลยีในการเชื่อมฐานข้อมูล และถ้าหากว่าบุคคลที่มีหมายจับจะเดินทางออกนอกประเทศจะถูกจับทันที และเกิดความยากลำบากในเรื่องการเดินทางอย่างแน่นอน และนอกจากนี้ยังจะถูกบันทึกการกระทำผิดไว้ในทะเบียนประวัติซึ่งอาจส่งผลต่อการประกอบอาชีพการทำงาน ซึ่งในกรณีที่หน่วยงานสอบถามประวัติคดีอาญาว่าเป็นบุคคลที่มีหมายจับ จะทำให้เกิดความยากลำบากและความน่าเชื่อถือในการทำนิติกรรมอีกด้วย


6. กรณีผู้ต้องหามาพบพนักงานสอบสวนด้วยตนเองหรือถูกจับกุม และยินยอมเปรียบเทียบปรับให้คดีอาญาเลิกกัน


7. สามารถตรวจสอบย้อนหลังใบสั่งที่ยังไม่หมดอายุความ (ระยะเวลา 1 ปี) สำหรับ มาตรการดังกล่าว โดยจพเน้นกรณีกระทำผิดซ้ำบ่อยครั้งก่อน


ที่มา : autolifethailand


อ่านเพิ่มเติมได้ที่ ใบสั่งออนไลน์

ติดตามข่าวสาร และ ข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับ รถบรรทุก

ได้ที่ : P.I.E. Premium Modern Truck ขายรถบรรทุก

ติดต่อสอบถามเพิ่มเติม : P.I.E Premium Modern Truck

Kommentare


Hi, thanks for stopping by!

I'm a paragraph. Click here to add your own text and edit me. I’m a great place for you to tell a story and let your users know a little more about you.

Let the posts
come to you.

Thanks for submitting!

  • Facebook
  • Instagram
  • Twitter
  • Pinterest
bottom of page